ผมบางเกิดจากอะไร แก้ยังไงให้ผมกลับมาหนา
ปัญหาผมบาง เป็นอีกหนึ่งปัญหาที่จะสามารถเกิดขึ้นกับใครก็ได้ไม่ว่าจะเป็นผู้หญิงหรือผู้ชาย เพราะมีปัจจัยที่ทำให้เกิดผมบางลงได้นั้น หลัก ๆ ก็มาจากการที่มีผมร่วงอย่างผิดปกติในจำนวนมาก ซึ่งมีสาเหตุทั้งจากปัจจัยภายในของแต่ละบุคลล รวมไปถึงปัจจัยภายนอกที่แต่ละคนอาจจะประสบไม่เหมือนกัน หากคนที่มีภาวะปัญหาผมบางนี้ ปล่อยให้ปัญหายังคงอยู่โดยไม่รีบทำการแก้ไข ย่อมอาจจะทำให้ปัญหาลุกลามไปมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้เสียบุคคลิกภาพและสูญเสียความมั่นใจในตนเองไปในที่สุด เรามาดูรายละเอียดของสาเหตุที่ก่อให้เกิดปัญหาผมบาง รวมไปถึงการป้องกัน วิธีการแก้ไข ข้อควรระวัง และข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกันเลยนะค่ะ
เลือกเนื้อหาที่ต้องการอ่าน
Toggleสาเหตุที่ผมบางเกิดจากอะไร มีวิธีป้องกันอย่างไร
ต้นตอของการที่มีผมบางส่วนใหญ่เกิดจากการที่เส้นผมหลุดร่วงมากผิดปกติ สาเหตุหลัก ๆ ของปัญหาผมบาง เกิดจากปัจจัยดังต่อไปนี้
1. ฮอร์โมนเพศทำให้ผมหลุดร่วง
สำหรับเพศชาย จะมีโอกาสที่ฮอร์โมนเพศชายจะเปลี่ยนเป็นฮอร์โมน DHT ที่จะส่งผลให้เส้นผมไม่แข็งแรง อ่อนแอลง เส้นผมลีบแบน วัฐจักรวงจรชีวิตของเส้นผมสั้นลงกว่าปกติที่ควรจะเป็น อันเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ผลหลุดร่วงได้ง่าย ซึ่งการทำผมร่วงมาก ๆ นั้น ย่อทำให้ความหนาแน่นของเส้นผมลดลงทำให้ผมบางลง ซึ่งตามสถิติแล้วมีโอกาสที่ผู้ชายจะหัวล้านมีถึง 1 ใน 3 ของจำนวนประชากรเพศชาย และเจ้าฮอร์โมนเพศชายนี่ก็เป็นต้นเหตุที่ทำให้ผู้ชายหัวล้านสูงถึง 90% ของคนหัวล้านทั้งหมดเลยทีเดียว
สำหรับเพศหญิง ฮอร์โมนเพศหญิงก็อาจจะทำให้เกิดผมหลุดร่วงง่ายจนเข้าสู่สภาวะผมบางได้เช่นกัน แต่สัดส่วนของโอกาสที่จะเกิดขึ้นมีสัดส่วนน้อยกว่าผู้ชาย
สำหรับการป้องกันอาจจะเป็นไปได้ยาก เพราะเป็นความผิดปกติทางฮอร์โมนเอง แต่ก็สังเกตุได้ถ้าหากมีผมหลุดร่วงมากผิดปกติ ส่วนเรื่องการแก้ไข หากมีผมหลุดร่วงจนเกิดภาวะผมบาง ควรเข้าไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโดยตรง เพื่อที่จะได้คำแนะนำและแนวทางในการรักษาที่เหมาะสมกับตัวบุคคลต่อไป ไม่แนะนำให้ซื้อหามากินเอง
2. ยีนส์หรือกรรมพันธุ์
ยีนส์ที่ได้รับการถ่ายทอดมาจากพันธุกรรม ก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดผมบาง ยิ่งถ้าหากพ่อแม่ซึ่งเป็นผู้ถ่ายทอดยีนส์มาให้โดยตรง มีปัญหาผมขาดหลุดร่วงจนทำให้หัวล้าน นั่นแสดงว่าเราก็มีโอกาสที่จะได้รับยีนส์ตัวนี้มาด้วยเช่นกัน แต่อย่างไรก็ตาม การที่ยีนส์ตัวนี้จะแสดงผมออกมา ก็ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่เข้ามาเกี่ยวข้องอีกหลายอย่าง ดังนั้นจึงยังไม่ต้องกังวลมากไป ขอแค่หมั่นคอยสังเกตุตัวเองว่ามีผมร่วงเยอะผิดปกติหรือไม่ จะได้รีบทำการแก้ไขเพื่อไม่ให้ปัญหามีความรุ่นแรงขึ้น
สำหรับการป้องกันปัญหาผมบางที่เกิดจากยีนส์ ทำได้โดยต้องดูแลรักษาหนังศรีษะและเส้นผมอย่างถูกวิธีซึ่งต้องทำอย่างสม่ำเสมอด้วย หลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่จะไปทำร้ายเส้นผม เช่น ดัดผม ทำสีผม และควรทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อเส้นผม หากมีอาการรุนแรง แนะนำว่าควรเข้าไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเป็นการด่วน ไม่แนะนำให้ใช้ยาต้านกรรมพันธุ์ ซึ่งจะมีผมข้างเคียง เช่น เกิดอาการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศได้
3. ความเครียด วิตกกังวล ซึมเศร้า
หากใครมีความเครียดสะสมเป็นเวลานาน หรือแม้แต่มีภาวะวิตกกังวลหรือภาวะซึมเศร้า ก็อาจจะทำให้เกิดปัญหากับเส้นผมที่นำไปสู่ภาวะผมบางในที่สุดได้ ทั้งนี้เพราะเมื่อมีความเครียดมาก ๆ ร่างกายของคนเราจะสร้างฮอร์โมนชนิดหนึ่งที่มีชื่อว่า คอร์ติซอร์ โดยที่ฮอร์โมนตัวนี้จะส่งผลให้วงจรชีวิตของเส้นผมของเรามีอายุที่สั้นลง ซึ่งทำให้เกิดผมหลุดร่วงได้ง่าย นอกจากนี้ความเครียดก็ยังทำให้ร่างกายและภูมิคุ้นอ่อนแอลง ก็ทำให้ผมร่วงได้ด้วย
สำหรับวิธีป้องกันและแก้ไขเรื่องปัญหาความเครียด วิตกกังวลและซึมเศร้า อาจจะเริ่มต้นจากการออกกำลังกาย ออกไปสังสรรค์พบปะเพื่อนฝูง หรือลองหัดนั่งสมาธิ เพื่อจิตใจสดชื่นผ่องใส รวมไปถึงพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อรับคำแนะนำและแนวทางการแก้ไขหรือรักษาที่เหมาะสมต่อไป
4. การขาดสารอาหาร
การขาดสารอาหาร ก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้เส้นผมหลุดร่วงผิดปกติได้ เช่นกัน การที่ร่างกายเกิดการขาดสารอาหารอย่างเฉียบพลัน ส่วนมากเกิดจากความเข้าใจผิดในเรื่องการลดน้ำหนัก ไปทำการลดน้ำหนักโดยงดการทานอาหารโดยเฉพาะอาหารจำพวกเนื้อสัตว์ทำให้ได้รับโปรตีนไม่เพียงพอ ซึ่งโปรตีนเป็นองค์ประกอบสำคัญของเส้นผม เมื่อได้รับโปรตีนไม่เพียงพอก็จะทำให้เส้นผมอ่อนแอลงได้ มีโอกาสที่ผมจะหลุดร่วงผิดปกติจนนำไปสู่ภาวะผมบางได้
สำหรับการป้องกันและแก้ไขด้านการขาดสารอาหาร ควรทานอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่ เพื่อให้ร่างกายได้รับในสารอาหารต่าง ๆ อย่างเพียงพอครบถ้วน รวมไปถึงควรออกกำลังกายควบคู่ไปด้วย ที่สำคัญคือต้องนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ เพราะช่วงเวลาที่หลับลึกจะเป็นช่วงเวลาที่ร่างกายซ่อมแซมเซลล์ต่าง ๆ ในตัวเอง
5. การไม่ดูแลเส้นผม หรือดูแลผิดวิธี
การไม่ดูแลเส้นผมเลย หรือดูแลน้อยเกินไป ไปจนถึงการดูแลเส้นผมผิดวิธี ก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดการหลุดร่วงของเส้นผมได้ เช่น ปล่อยให้เส้นผมโดยแดดโดยตรงเป็นเวลานาน ๆ โดยไม่สวมใส่อะไรป้องกัน แดดจะส่งผลเสียโดยตรงต่อเม็ดสีบนหนังศีรษะซึ่งจะไปทำลายโปรตีนที่อยู่ในเส้นผมจนทำให้เกิดผมเสียซึ่งจะทำให้ผมเกิดการหลุดร่วงได้มากขึ้นกว่าปกติ
สำหรับการสระผมบ่อย ๆ มากเกินไป ก็จะทำให้หนังศีรษะเสียน้ำมันหล่อเลี้ยงความชุ่มชื้น หนังศีรษะอาจจะแห้งจนเสียสมดุล รวมไปถึงการใช้สารเคมีกับเส้นผมมาก ๆ บ่อย ๆ เช่น การดัดผม การทำสีผม การมัดผมจนตึงแน่นเป็นเวลานาน ๆ การเลือกใช้แชมพูสระผมที่ไม่เหมาะกับสภาพผม การใช้ไดร์เป่าลมร้อนกับเส้นผมเป็นประจำ ก็จะทำให้ผมเสียได้ซึ่งจะนำไปสู่ภาวะผมบางในที่สุด
สำหรับการป้องกันในด้านการไม่ดูแลหรือดูแลเส้นผมผิดวิธี สามารถทำได้ง่าย ๆ โดยการหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่แจ้งที่โดนแสงแดดโดยตรงเป็นเวลานาน ๆ และควรบำรุงเส้นผมและหนังศีรษะที่เหมาะกับสภาพผมของเราอย่างสม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงการปรับแต่งทรงผมที่ต้องใช้สารเคมี ไม่รัดผมรวบตึงจนนานเกินไป เพียงเท่านี้ก็ป้องกันไม่ให้ผมขาดหลุดร่วงจนนำไปสู่ภาวะผมบางได้แล้ว
6. อายุที่เพิ่มมากขึ้น
อายุที่เพิ่มมากขึ้นเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เมื่อคนเราอายุมากขึ้น อวัยวะและเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกายย่อมมีความเสื่อมลงเป็นธรรมดา เส้นผมและหนังศีรษะก็จะเสื่อมลงเช่นกัน มีหลายคนที่พออายุเพิ่มขึ้นแล้วจะเริ่มมีอาการหน้าผากเถิกหรือหัวล้านที่เห็นได้ชัดเจน ทั้งนี้เป็นผมเซลล์รากผมและเซลล์หนังศีรษะเสื่อมอ่อนแอลงไป เลือดก็จะไปหล่อเลี้ยงเส้นผมและหนังศีรษะลดลง อันทำให้ผมเกิดการหลุดร่วงได้ง่ายและร่วงเป็นจำนวนมาก เมื่ออายุมากขึ้นเส้นผมละมีลักษณะที่เล็กและลีบแบนลง ทำให้ผมดูบางลงอย่างชัดเจน
สำหรับการป้องกันปัญหาผมบางอันเนื่องมาจากอายุที่มากขึ้น คงจะไปห้ามความชราไม่ได้ แต่ยังสามารถป้องกันและแก้ไขปัญหาจากสาเหตุนี้ได้ โดยใช้การนวดกระตุ้นศีรษะเพื่อให้การไหลเวียนของเลือกไปหล่อเลี้ยงบริเวณหนังศีรษะได้ดียิ่งขึ้น จะช่วยให้การขาดหลุดร่วงของเส้นผมให้ลดลง กระตุ้นให้เกิดการงอกของเส้นผมใหม่ได้มากขึ้น อีกทั้งยังสามารถเข้าไปปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อหาวิธีป้องกันและรักษาที่เหมาะสมกับตนเอง เพื่อคืนความมั่นใจให้กลับคืนมาอีกครั้ง
ผมหนาผมบางดูยังไง
อาการผมหนา ผมบาง เส้นเล็กเป็นอย่างไร ร่วงขนาดไหนจึงถือว่าผิดปกติ โดยระดับของผมขาดร่วงมีทั้งระดับที่พบได้ทั่วไป และการขาดหลุดร่วงแบบที่ผิดปกติ แยกเป็นเพศชายและเพศหญิงได้ดังนี้
Hamilton-Norwood Scales
Hamilton-Norwood Scales คือ รูปแบบของความบางเส้นผมที่จะใช้นำมาประเมินระดับความรุนแรงของปัญหาหัวล้าน เป็นอาการที่มักพบได้ทั่วไปที่พบในเพศชาย เกิดขึ้นได้ทั้งในผู้หญิงและผู้ชาย ซึ่งสามารถแบ่งระดับความรุนแรงออกเป็น 12 Stage
อาการหัวล้านในผู้ชาย หน้าผากจะเริ่มเว้าแหว่งบริเวณปลายหน้าผากทั้งสองข้างจนมองเห็นเป็นรูปตัว M ตามเลขกำกับ Stage ที่ 1 ในภาพ อาการอาจจะรุนแรงมากขึ้นจนหน้าผากเถิกไปจนถึง Stage ที่ 4 แล้วถ้าหากมีอาการหลุดร่วงของเส้นผมตรงกลางหนังศีรษะจนผมบางใน Stage ที่ 5 ร่วมด้วย อาจจะทำให้เกิดการขยายวงกว้างมากขึ้น จนนำไปสู่การที่หัวล้านได้ในที่สุด ซึ่งความรุนแรงก็จะอยู่ใน Stage ที่ 6-12 ตามภาพ
Ludwig Scales
Ludwig Scales คือ รูปแบบของความบางของเส้นผมที่จะใช้นำมาประเมินระดับความรุนแรงของปัญหาหัวล้านในเพศหญิง ซึ่งสามารถแบ่งระดับความรุนแรงออกเป็น 9 Stage ดังรูป
การหัวล้านในผู้หญิง จะเริ่มต้นจากผมเริ่มหลุดร่วงจนผมบางเห็นหนังศีรษะในจุดแสกกลางศีรษะ ตามภาพใน Stage 1 จากนั้นอาการอาจรุนแรงและขยายวงกว้างออกไปเรื่อย ๆ จนความกว้างของแสกที่ไม่มีเส้นผมบางหรือไม่มีเส้นผมเลยจะแผ่ขยายออกไปจนทำให้หัวล้านในที่สุด ความรุนแรงก็จะไล่เรียงไปตามภาพใน Stage ที่ 2-9
ปัญหาผมบางมักจะเกิดขึ้นกับใคร
ถ้าถามว่าปัญหาผมบางมักจะเกิดกับใครได้บ้าง ต้องขอตอบว่า “สามารถเกิดได้กับทั้งผู้ชายและผู้หญิง” โดยปกติแล้วคนเราจะมีเส้นผมอยู่บนหนังศีรษะประมาณหนึ่งแสนเส้น ซึ่งเส้นผมจะมีวงจรชีวิตของมันเอง เริ่มจากช่วง Anagen ไปสิ้นสุดที่ช่วง Telogen นั่นหมายถึงตั้งแต่เกิดไปจนถึงหมดสภาพ ในระหว่างนั้นเส้นผมมีโอกาสที่จะหลุดร่วงเป็นเรื่องธรรมชาติอยู่แล้ว
โดยปกติแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเส้นผมและหนังศีรษะ จะมีเกณฑ์คร่าว ๆ ในการวิเคราะห์ความผิดปกติของการหลุดร่วงของเส้นผมที่ทำให้เกิดปัญหาผมบาง โดยวัดจากจำนวนเส้นผมที่หลุดร่วงในแต่ละวัน อย่างเช่น ในวันปกติที่ไม่ได้มีการสระผมเลย หากมีจำนวนเส้นผมหลุดร่วงไม่เกิน 100 เส้นจะถือว่าเป็นปกติ ส่วนในวันที่ได้มีการสระผมนั้น หากมีจำนวนเส้นผมที่หลุดร่วงไม่เกิน 200 เส้นก็ถือว่าเป็นปกติเช่นกัน ในทางกลับกับ หากมีเส้นผมหลุดร่วงมากกว่าเกณฑ์ดังกล่าวก็จะถือว่ามีความผิดปกติเกิดขึ้น
ปัญหาผมร่วงจนทำให้เกิดผมบางในเพศชายและเพศหญิงมีความแตกต่างกันออกไป ดังนี้
เพศชาย: สาเหตุของการเกิดอาการผมบางในเพศชาย หลัก ๆ ส่วนมากจะเกิดมาจากพันธุกรรม อีกทั้งระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน (Testosterone) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ผลิตจากถุงอัณฑะ จึงมีเฉพาะในเพศชาย มีระดับที่สูงผิดปกติ ก็เป็นปัจจัยที่มีส่วนทำให้เกิดผมบางในเพศชายได้เช่นกัน นอกจากนี้ พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม เช่น การสูบบุหรี่ รวมทั้งมีปัญหาความเครียดสะสม ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้เกิดปัญหาผมบางได้อีกด้วย
เพศหญิง: สาเหตุของการเกิดอาการผมบางในเพศหญิง มักจะพบในช่วงหลังจากคลอดบุตร และช่วงก่อนหรือหลังที่จะเข้าสู่วัยทองที่หมดประจำเดือน รวมไปถึงมีภาวะเครียด เพราะช่วงเวลาดังกล่าว เพศหญิงจะมีระดับฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงเป็นอย่างมาก ซึ่งระดับฮอร์โมนจะมีส่วนเกี่ยวข้องในวงจรการเจริญเติบโตของเส้นผม อีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ทำให้เพศหญิงมีโอกาสผมบางได้สูงกว่าเพศชาย ได้แก่ ภาวะขาดสารชีวโมเลกุลและโปรตีนต่าง ๆ ในกลุ่ม Exposomes ซึ่งมีมากกว่า 1,000 ชนิด ที่เป็นตัวช่วยบำรุงฟื้นฟูและซ่อมแซมผิว เป็นสาเหตุให้เส้นผมของเพศหญิงเกิดการขาดหลุดร่วงจนทำให้ผมเกิดการบางได้มากกว่าเพศชายนั่นเอง
ผมบางมักจะเกิดตรงไหน
หลายคนอาจจะมองข้ามปัญหาเรื่องผมบางเพราะคิดว่าอายุยังน้อย ยังไม่ถึงเวลาที่จะเกิดภาวะแบบนี้ แต่ในความจริงแล้ว ปัญหาผมบางนั้นไม่จำกัดเพศหรือวัย จากปัญหาที่ดูเล็ก ๆ นี้ อาจจะพาไปสู่ปัญหาที่ใหญ่ขึ้น ซึ่งก็คือ “หัวล้าน” นั่นเอง
ตำแหน่งที่มันเกิดการผมบางทั้งเพศชายและหญิงมันจะเกิดที่บริเวณ “กลางหัว” แต่สำหรับเพศชายนอกจากภาวะผมบางกลางหัวแล้ว จะมีเพิ่มอีกหนึ่งจุด คือ บริเวณหน้าผาก ซึ่งถ้าหากเกิดร่วมกันทั้งสองจุดจะรุนแรงและเสี่ยงต่อการเป็นคนหัวล้านได้เพิ่มมากขึ้น ดังที่กล่าวไปแล้วในหัวข้อ “ผมหนาผมบางดูยังไง”
ผมบางบริเวณกลางหัวผู้ชาย
สำหรับปัญหาผมที่เกิดการบางบริเวณกลางหัวในผู้ชาย สามารถพบได้สูงถึง 2 ใน 3 ของจำนวนเพศชายทั้งหมด โดยจะเริ่มจาการที่มีผมร่วงจนบางลงในบริเวณส่วนหน้าผากและกลางศีรษะจนเห็นได้อย่างชัดเจนว่าผมแหว่งหายบางลงไปมาก ภาษาทางการแพทย์เรียกว่า Male Pattern Baldness ซึ่งถ้าหากปล่อยไว้ไม่เข้ารับการรักษาที่ถูกวิธี แน่นอนว่าจะทำให้เป็นผู้ชายหัวล้านตั้งแต่บริเวณหน้าผากไปบรรจบถึงกลางวัน จะเหลือเส้นผมแค่ตรงส่วนหลังใบหูแลท้ายทอยนั่นเอง
ผมบางบริเวณกลางหัวผู้หญิง
คุณผู้หญิงหลายคนอาจจะไม่คิดว่าปัญหาผมบางกลางหัวเป็นเรื่องที่ใกล้ตัว ทั้งนี้เพราะผู้หญิงจะมีเส้นผมที่ดูหนากว่าและการเติบโตก็ไวกว่าผู้ชาย แต่ที่จริงแล้วภาวะผมบางกลางหัวผู้หญิงก็เกิดได้เช่นกัน จุดเริ่มต้นผมบางจะเป็นตำแหน่งกลางหัวโดยเฉพาะบริเวณแสกผม แต่บริเวณหน้าผากอาจจะยังไม่ดูบางลงเท่ากับผู้ชาย บริเวณแสกที่ผมมีการร่วงจนบางนั้น อาจจะขยายวงกว้างออกไปได้เรื่อย ๆ ดังนั้นหากคุณผู้หญิงเกิดปัญหาเช่นนี้ ก็ควรเข้ารับการดูแลรักษาที่ถูกต้องเพื่อฟื้นฟูให้ทันท่วงที
วิธีรักษาผมบาง
การรักษาผมบาง มีวิธีการในการดูแลและฟื้นบำรุงเส้นผม หนังศรีษะ ที่สามารถทำได้หลากหลาย ดังนี้
Hair Root Regenera
Hair Regenera รักษาผมบางด้วยเซลล์ต้นกำเนิด ฟื้นฟูให้เส้นผมหนาอวบอ้วนและดกดำ ปลูกถ่ายเซลล์ที่มีชีวิต ด้วยสเต็มเซลล์ที่มาจากรากผมของตัวเอง ปลอดภัย ไม่เป็นอันตราย รักษาอาการบางจากฮอร์โมนและพันธุกรรม บางกลางศีรษะระดับปานกลางไปจนถึงรุนแรง บางจนเป็นไข่ดาวกลางศรีษะสำหรับผู้ชาย และบางรอยแสกของผู้หญิง ให้ผมกลับมาหนาดูได้ใน 3-4 เดือนขึ้นไป ฟื้นฟูเส้นผมลีบเล็กให้เส้นใหญ่หนาขึ้น ได้เส้นผมที่ดีเพิ่มมากขึ้น ไม่ต้องทำบ่อย ผมหนากลางศีรษะ ไม่ต้องใช้เวลาพักฟื้น ทำให้วงจรเส้นผมกลับมาหนาทำงานได้ปกติ (โดยใช้การเจาะเซลล์รากผมของตนเองมารักษา) ควรทำปีละครั้ง
หลักการทำงานของ Hair Regenera
Stem cell ที่ถูกสกัดออกมา จะทำหน้าที่เข้าไปปกป้องรากผมจากอิทธิพลของฮอร์โมนที่ทำให้ผมหลุดร่วง และเข้าไปซ่อมเซลล์ที่อ่อนแอให้ผลิตจำนวนเส้นผมเพิ่มมากขึ้น ทั้งยังกระตุ้นให้เซลล์รากผมแตกตัว และเจริญเติบโตเป็นเส้นผมงอกใหม่ที่มีจำนวนมาก ซึ่งเส้นผมที่ขึ้นมาใหม่นั้นไม่ใช่ไรผมอ่อนๆ แต่เป็นผมที่ดกหนาเป็นธรรมชาติ ผลลัพธ์จะอยู่ที่ 30% – 70%
ขั้นตอนการทำ
- เจาะรากผมที่แข็งแรงลึกถึงปลายเซลล์บริเวณท้ายทอย เนื่องจากท้ายทอยเป็นบริเวณที่เนื้อเยื่อได้รับผลจากฮอร์โมน DHT น้องกว่าบริเวณอื่นบนหนังศีรษะ
- นำมาผ่านกระบวนการทางการแพทย์ โดยคัดเลือกเอาเฉพาะ Stem cell ที่อยู่ในพลาสมาที่สมบูรณ์แข็งแรงเท่านั้น
- นำกลับไปฉีดบริเวณที่มีปัญหาผมร่วง ผมบาง เพื่อเข้าไปทำการซ่อมแซมเซลล์รากผมให้แข็งแรงขึ้นและกระตุ้นให้เซลล์ผลิตเส้นผมในจำนวนที่มากขึ้น จะช่วยทำให้ผมกลับมาดูหนาขึ้นอีกครั้ง
ระยะเวลาในการผลลัพธ์หลังทำ Hair Regenera
เริ่มเห็นผลหลังทำไปแล้ว 3 สัปดาห์ และเห็นผลชัดเจนขึ้นเรื่อย ๆ จนครบ 1 ปี โดยแนะนำให้ทำปีละ 1 ครั้ง
PRP Hair Plasma
PRP Hair Plasma เป็นโปรแกรมรักษาอาการผมหลุดร่วงจนเกิดการบางด้วยพลาสม่าของตนเอง ประเมินและรักษาตรงกับคุณหมอผู้เชี่ยวชาญด้านเส้นผม คืนความมั่นใจให้สุขภาพเส้นผม บำรุงผมที่อ่อนแอให้เส้นหนาขึ้น หลุดร่วงน้อยลง และกระตุ้นให้ผมขึ้นใหม่ได้อีกครั้ง โดยไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย ปลอดภัยไม่เกิดอาการแพ้เพราะมาจากเลือดของตนเอง แนะนำทำปีละ 3 ครั้ง
หลักการทำงานของ PRP Hair Plasma
ขั้นตอนการทำงานจะเป็นการนำเลือดของผู้เข้ารับการรักษาจำนวนเพียงเล็กน้อง มาผ่านกระบวนการทาง Biotechnology เพื่อแยกเลือดของมาเป็นชั้น ๆ ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 3 ชั้นได้แก่
- ชั้นบนสุด เรียกว่า Plasma ซึ่งจะมี Growth Factor อาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก
- ชั้นที่สองจะประกอบไปด้วยเม็ดเลือดขาว (White Blood Cell) ผสมอยู่กับเกล็ดเลือด (Platelet)
- ชั้นที่สามจะเป็นชั้นของเม็ดเลือดแดง (Red Blood Cell)
เกล็ดเลือดจะหลั่งสารออกมาชนิดหนึ่งที่เรียกว่า Growth Factors ที่มีหน้าที่ไปนำสเต็มเซลล์ที่อยู่ในกระแสเลือด ให้เข้ามาทำการซ่อมแซมเซลล์รากผมที่เริ่มหรือมีการเสื่อมสภาพให้แข็งแรงขึ้น ซึ่งจะทำให้เซลล์รากผมทำการผลิตแกนเส้นผมขึ้นมาอีกครั้ง ถึงแม้ว่าเซลล์รากผมที่เสื่อมสภาพนั้นจะถูกฮอร์โมนเทสโทรสเตอโรน (DHT) ให้ทำหยุดสร้างเส้นผมแล้วก็ตาม
ขั้นตอนการทำ
- เจาะเลือดของคนไข้
- นำเลือดไปปั่นในเครื่องด้วยแรงปั่นถี่ให้เลือดเปลี่ยนสถานะเป็นพลาสมา
- นำพลาสมามาฉีดกลับลงหนังศีรษะ
ระยะเวลาในการเห็นผลลัพธ์หลังทำ
- เริ่มเห็นผลหลังทำไปแล้ว 4 สัปดาห์ และเห็นผลชัดขึ้นเรื่อย ๆ หากมาเข้ามาทำซ้ำ ควรทำ 3 ครั้ง/ปี
- แนะนำทำร่วมกับ Hair Regen และ Hair Regrow Treatment เพื่อผลลัพธ์ที่ดีขึ้นและเห็นผลเร็วขึ้น
Hair Treatment
Hair Treatment เป็นการสกัดกลุ่มวิตามินเข้มข้น ลงสู่หนังศีรษะ เพื่อความแข็งแรงของรากผม ช่วยลดการหลุดร่วงให้เกิดน้อยลง เหมาะสำหรับคนที่เริ่มมีอาการผมหลุดร่วงบางในระยะแรก เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการบางมากขึ้นไปอีกในอนาคต มักจะเกิดขึ้นในบริเวณรอยแสกที่ไม่กว้างมาก ซึ่งเป็นภาวะการบางที่ไม่เยอะแต่ต้องการบำรุงให้เส้นผมหนาขึ้น ป้องกันไม่ให้บางมากขึ้นเรื่อย ๆ ในอนาคต โปรแกรมนี้ไม่เป็นอันตราย ปลอดภัยต่อหนังศีรษะ แนะนำทำทุก ๆ 2-4 สัปดาห์
ขั้นตอนการทำ
- ทำความสะอาดหนังศีรษะเพื่อเตรียมที่จะสะกิดวิตามิน
- เตรียมวิตามินใส่เข็ม
- ใช้เข็มสะกิดวิตามินลงหนังศีรษะ
การฉายแสง Red Light Therapy
การฉายแสง Red Light Therapy หรือที่มักเรียกกันว่า Low level light therapy จะเป็นการใช้คลื่นแสงฉายไปยังบริเวณหนังศีรษะโดยตรง ซึ่งจะใช้แสงที่มีความยาวของคลื่นอยู่ที่ 630-670 nm ลำแสงเลเซอร์จะเข้าไปกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิตให้ดีขึ้น โดยลำแสงเลเซอร์จะถูกดูดซึมโดย Mitochondria ของเซลต์รากผม ทำให้เซลล์รากผมได้รับปริมาณออกซิเจนที่มากขึ้น จะส่งผลทำให้เกิดการกระตุ้นการงอกใหม่ของเส้นผม อีกทั้งยังช่วงให้วงจรชีวิตของเส้นผมยาวนานยิ่งขึ้น ผมจึงดูหนามากขึ้น มักนิยมใช้คู่กับโปรแกรมการรักษาอื่น ๆ
หลักการทำงานของ Red Light Therapy
จะใช้ลำแสงเลเซอร์ Low level laser treatment ที่มีความยาวของคลื่นอยู่ที่ 650 nm ซึ่งมีงานวิจัยรองรับว่าความยาวของคลื่นเท่านี้ จะสามารถเข้าไปช่วยกระตุ้นให้รากผมมีการเจริญเติบโตที่สูงขึ้น อีกทั้งยังมีความปลอดภัยต่อสายตาและร่างการมนุษย์อีกด้วย
แสงเลเซอร์ที่เกิดจากจำนวนหลอดถึง 424 หลอด จะเข้าไปทำการกระตุ้นการทำงานของ Dermal Papilla ที่จะช่วยยืดเวลาวงจรชีวิตของเส้นผม จาก Anagen phase ไปสู่ Catogen จนไปสิ้นสุดที่ Telogen ให้ยาวนานเพิ่มมากขึ้น อันจะทำให้ผมจะร่วงช้าลง กระตุ้นให้มีเส้นผมเกิดใหม่ได้เร็วขึ้น หากเข้าทำการรักษาอย่างต่อเนื่อง จะทำให้ผมดูหนาขึ้นได้อย่างชัดเจน ซึ่งยังสามารถรักษาร่วมกับโปรแกรมการรักษาอื่น ๆ ทั้งการรักษาโดยการปลูกผม หรือการใช้ยาทั้งแบบรับประทานหรือแบบทา
เหมาะสำหรับ
- บำรุงรากผมหลังปลูกผม
- กระตุ้นการงอกใหม่ของผมให้เร็วขึ้น
- อยากบำรุงให้รากผมแข็งแรงมากขึ้น
- บำรุงเส้นผมให้แข็งแรง เส้นใหญ่ ดูผมหนา
ขั้นตอนการทำ
- ทำความสะอาดหนังศีรษะเพื่อเตรียมการฉายแสง
- ทำการฉายแสง
การสักไรผม
เป็นการสร้างตอผมเสมือนจริง แบบ 6 มิติ Microneedle pigmentation หรือเทคนิคการสักสีลงในชั้นหนังศีรษะของทางการแพทย์ โดยปัญหาผมที่เกิดการบางในระยะเริ่มต้น ที่กอผมยังไม่ทันหายไปแต่บางลงจนเห็นหนังศีรษะได้อย่างเด่นชัด คุณหมอจะใช้วิธีการสักสีลงในชั้นหนังศีรษะ โดยใช้สีทางการแพทย์ ด้วยเทคนิค Dana Micro Dot เพื่อสร้างตอผมเสมือนจริงขึ้นมา ทำให้ผมดูหนาขึ้น นวัตกรรมที่ออกแบบมาเผื่อผู้ที่มีปัญหาผมหลุดร่วงจนเกิดการบาง หัวล้าน และปัญหารอยแสกในระดับที่ไม่รุนแรงมาก หรือฉเพาะจุด โดยออกแบบขึ้นมาพิเศษซึ่งสามารถทำได้ทั้งคุณผู้หญิงและคุณผู้ชาย
เทคโนโลยี Dana Micro Dot ดูแลโดยคุณหมอปลูกย่ายเส้นผมเฉพาะทาง ที่มีความเข้าใจในเรื่องของหนังศีรษะและระยะห่างของเส้นผม ด้วยเทคนิคเฉพาะในเรื่องของการวาง Dot ที่เป็นธรรมชาติ ดังนั้น ไม่ว่าจะแสกผม ปัดผม หรือแม้กระทั่งทำผมทรงใดๆ ก็จะไม่เกิดปัญหาหลอกสายตา ด้วยอุปกรณ์พิเศษทางการแพทย์ที่ใช้การวาง Dot ลงศีรษะ 6 มิติ “แบบจุด”
การเตรียมตัวก่อนเข้ารับบริการ
การดูแลตัวเองหลังเข้ารับบริการ
ผลิตภัณฑ์รักษาผมบาง
ใครที่มีปัญหาเกิดการหลุดร่วงของเส้นผม ขอแนะนำวิธีแก้อาการผมหลุดร่วง ผมบาง ที่ให้ผลลัพธ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้อาการหลุดร่วงของเส้นผมเกิดน้อยลง เมื่อทำการรักษาอย่างต่อเนื่อง ผมก็จะกลับมาหนาและแข็งแรงอีกครั้ง เรามาดูกันว่ามีวิธีไหนที่น่าสนใจบ้าง
1️. Biotin C
Biotin C วิตามินที่ช่วยเร่งการผลิตผม ซึ่งเป็นอาหารของผมชั้นดี เพิ่มสารอาหารที่ดีเพื่อไปหล่อเลี้ยงเซลล์รากผมให้เกิดความแข็งแรง เมื่อเส้นผมมีความแข็งแรงแล้ว ก็จะทำให้เกิดการหลุดร่วงได้ยากยิ่งขึ้น โดยอาหารเสริมตัวนี้เป็นการรวมสารอาหารและวิตามินที่ช่วยบำรุงถึงเซลล์รากผมภายใน ที่สามารถช่วยลดการหลุดร่วง เพิ่มการงอกใหม่ของเส้นผม แกนของเส้นผมมีความแข็งแรงมากยิ่งขึ้น จะเห็นผลลัพธ์ดีเมื่อทานคู่กับคอลลาเจน
วิธีรับประทาน : แนะนำให้ทานหลังอาหาร หรือทานพร้อมมื้ออาหาร
โดย 1 กล่องมี 60 เม็ดฟู่
ทานวันละ 2 เม็ดฟู่ + คอลลาเจน1ซอง
2. คอลลาเจนไตรเปปไทด์
Vdesign Collagen Tripeptide เป็นคอลลาเจนบริสุทธิ์เพียว 100% ที่ช่วยบำรุงผม, ผิว, เล็บได้ในซองเดียว เห็นผลไวกว่าการทานคอลลาเจนอื่น ๆ ด้วยโมเลกุลที่มีขนาดเล็กที่สุด สามารถดูดซึมได้ทันทีโดยไม่ต้องผ่านการกระบวนย่อย
วิธีรับประทาน : แนะนำให้ทานหลังมื้ออาหารหรือพร้อมมื้ออาหาร
คอลลาเจน 1 ซอง ควรทานคู่กับ Biotin C
3. ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดหนังศีรษะ แชมพู และครีมนวดผมสูตรอ่อนโยน
Advanced Hair Fall Control Shampoo & Conditioner เป็นผลิตภัณฑ์ยาสระผมและครีมนวม สำหรับแก้ผมร่วงและผมบางที่สกัดจากสมุนไพรและพืช ที่สามารถช่วยลดการหลุดร่วงและกระตุ้นการงอกใหม่ของเส้นผม นอกจากนี้ ยังมีสารสกัดจากหญ้างหางม้าซึ่งเป็นสารสกัดที่มีฤทธิ์ช่วยบำรุงรากผมโดยตรง ทำให้ผมเกิดการหลุดร่วงน้อยลง ฆ่าเชื้อสิวต่าง ๆ ลดอาการอักเสบที่เกิดบนหนังศีรษะ ช่วยปรับสภาพความสมดุลของหนังศีรษะ ลดอาการคัน ลดการเกิดรังแค และลดความมันได้
วิธีใช้ : ใช้แชมพูควบคู่กับครีมนวดเพื่อปรับสภาพเส้นผม โดยสามารถใช้ทำความสะอาดเส้นผมได้ทุกวัน
4. Hair Max LaserBand 82
นวัตกรรมรักษาผมบางได้เร็วสุดในโลก ที่คาดผมเลเซอร์พลังงานต่ำระดับเกรดการแพทย์ มากถึง 82 หลอด ไม่ผสมหลอด LEDs รักษาได้ครอบคลุมทั่วหนังศีรษะ ช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตของเส้นผม เพิ่มความหนาให้แก่เส้นผม ฟื้นฟูผมเสีย หยุดยั้งกระบวนการที่ทำให้เกิดผมบาง รักษาโดยไม่ต้องใช้ยาหรือสารเคมี ผ่านการรับรองจาก FDA เหมาะสำหรับทั้งผู้ชายและผู้หญิง ผ่านการทดสอบ พบว่ามีการงอกใหม่ของเส้นผมชัดเจน
วิธีใช้ : เพียงใช้งาน 90 วินาทีต่อครั้ง 3 ครั้งต่อสัปดาห์ ในระยะเวลา 16-26 สัปดาห์ ช่วยให้ผมสุขภาพดีขึ้น ผมหนาเพิ่มมากขึ้นสูงสุด 139 เส้น/ตร.นิ้ว
5. ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
นี่เป็นวิธีที่ดีที่สุด โดยก่อนทำการรักษาและแก้ปัญหาอาการบางของเส้นผม ไม่ว่าจะด้วยวิธีใดก็ตาม แนะนำให้เข้ารับการปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านเส้นผม เพื่อจะได้รู้ถึงสาเหตุที่แท้จริงของเราว่าอยู่ในความรุนแรงระดับไหน ซึ่งแพทย์จะได้ทำการวินิจฉัยและแนะนำวิธีการรักษาที่ถูกต้องอย่างเหมาะสมและปลอดภัยมากที่สุด
รักษาผมบางราคาเท่าไหร่
คลินิก Vdesign Hair ของเรามีโปรแกรมบริการรักษาผมบาง ราคาเริ่มต้นที่ 5,600 บาท โดยที่ราคาจะมีความแตกต่างกันไปออกไปในแต่ละระดับปัญหา และความรุนแรงของเส้นผมของแต่ละบุคคล
วิธีดูแลผมบางไม่ให้เกิดขึ้นซ้ำ
วิธีป้องกันการเกิดผมหลุดร่วงจนบาง ควรรับรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบ 5 หมู่ โดยเน้นการทานอาหารที่มีโปรตีน วิตามิน และแร่ธาตุ ซึ่งจะช่วยบำรุงเส้นผมให้เกิดความแข็งแรง ช่วยป้องกันอาการหลุดร่วงจนเกิดการบางของเส้นผมในอนาคตได้
แต่ถ้าเกิดสังเกตเห็นว่ามีอาการผมเริ่มบาง หรือเกิดการหลุดร่วงจนผิดปกติ แนะนำให้รีบพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุให้แน่ชัด หากเจอสาเหตุและรักษาได้อย่างตรงจุด จะช่วยแก้ปัญหาอาการหลุดร่วงของเส้นผมได้อย่างรวดเร็วทันเวลา ซึ่งจะช่วยป้องกันผมไม่ให้เกิดการบางได้ โดยเฉพาะสาเหตุที่มาจากพันธุกรรมและฮอร์โมน หากยิ่งได้เข้ารับการรักษาโดยเร็วเท่าไหร่ จะเป็นการดีที่จะไม่เสียโอกาสในการที่จะทำให้เส้นผมกลับมาแข็งแรงดังเดิมเท่านั้น
คำถามที่พบบ่อย
ต้องทำการรักษากี่ครั้ง
การรักษาอาการหลุดร่วงจนเกิดการบางของเส้นผม ไม่ใช่การปลูกย้ายเส้นผมแบบถาวร ดังนั้น ผู้ที่เข้ารับการรักษาแนะนำให้ทำทุกปี และหลังจากนั้น แนะนำให้มาทำอย่างต่อเนื่องเพื่อเป็นการบำรุงรักษาทุก 4-6 เดือน
รักษาแล้วจะได้ผลเมื่อไหร่
สำหรับผู้ที่รักษาอาการหลุดร่วงของเส้นผมจนเกิดการบาง ส่วนใหญ่มักจะเห็นผลลัพธ์ที่ชัดเจนประมาณเดือนที่ 4-6 โดยจะสังเกตเห็นว่าเส้นผมมีขนาดเส้นที่ใหญ่ขึ้น และอัตราการร่วงของผมลดลง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพหนังศีรษะและการตอบสนองของร่างกายแต่ละบุคคล
เป็นการรักษาอาการบางแบบถาวรไหม
การรักษาผมที่เกิดการหลุดร่วงจนบางทุกโปรแกรม ไม่ใช่การปลูกย้ายเส้นผมแบบถาวร ถึงแม้ว่าการรักษาจะช่วยให้เห็นผลลัพธ์ในระยะยาว แต่ยังคงมีโอกาสที่เส้นผมจะเสื่อมสภาพได้ ดังนั้น แนะนำให้ทำโปรแกรมดูแลรักษาเส้นผมอย่างต่อเนื่องตามคำแนะนำของแพทย์ โดยเว้นระยะเวลา 4-6 เดือน เพื่อคงสภาพความแข็งแรงของเซลล์รากผม ทำให้ผมไม่กลับไปบางอีก
ขณะรักษาอาการบางของผมจะมีความรู้สึกเจ็บไหม
โปรแกรมการรักษาอาการบางของผม ไม่ใช่การผ่าตัด โดยในบางหัตถการจะมีอาการเจ็บตอนฉีดยาชาเข็มแรก ๆ เท่านั้น จึงเหมาะสำหรับผู้ที่มีความกังวลเรื่องการผ่าตัด กลัวเจ็บ อาการแทรกซ้อน เพราะมีโอกาสเกิดขึ้นได้น้อย และไม่จำเป็นต้องพักฟื้นหลังเข้ารับการรักษาแล้ว
สนใจปรึกษาแพทย์ทำอย่างไร
สำหรับผู้ที่สนใจอยากลองปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับอาการ ผมบาง สามารถขอนัดคิวเข้ามาเพื่อตรวจสภาพของหนังศีรษะและทำการส่องกล้องเพื่อดูความแข็งแรงของเซลล์รากผม และศีรษะล้านได้ หรือสามารถขอคำปรึกษาผ่านทางออนไลน์กับทีมแพทย์ หรือนัดคิวเข้ามาพบกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านเส้นผมและหนังศีรษะได้ที่คลินิกค่ะ