เปิดทุกวัน 10.00 - 19.00 น.
เปิดทุกวัน 10.00 - 19.00 น.

ผมร่วง เกิดจากอะไร รักษาได้ไหม

รักษาผมร่วงที่ต้นเหตุ

ผมร่วงเยอะมาก หรือร่วงเป็นหย่อม ๆ เป็นปัญหาที่พบได้ในทุกช่วงวัยและทุกช่วงอายุ สาเหตุอาจด้วยปัจจัยหลาย ๆ อย่าง เช่น กรรมพันธุ์ ฮอร์โมน และที่หลาย ๆ คนอาจจะนึกไม่ถึง คือ ปัจจัยที่มาจากสิ่งแวดล้อมที่เราเรียกว่า Exposome อย่างเช่น รังสี UV, ฝุ่น PM2.5 อีกทั้งไลฟ์สไตล์ในการจัดแต่งผมของเรา เช่น การไดร์ผมด้วยลมร้อน การทำสียืดผม ดัดผม หรือทำเคมีต่าง ๆ ทำให้เส้นผมอ่อนแอ รากผมไม่แข็งแรงและเล็กลีบ บาง ดูไม่มีวอลลุ่ม และอาจนำไปสู่ปัญหาผมบางในที่สุด ดังนั้น ถ้าเราทำความรู้จักกับวงจรการเติบโตของเส้นผม และปัจจัยต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อการลีบ แบน หลุดร่วง ของเส้นผมแล้ว ก็จะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาผมบางในอนาคตได้

เลือกเนื้อหาที่ต้องการอ่าน

สาเหตุที่ผมร่วงเยอะเกิดจากอะไร

สาเหตุที่ผมร่วงเยอะ เกิดจากอะไร

สำหรับคำถามที่ว่าผมร่วงเกิดจากอะไรนั้น จะเกิดได้จากหลายสาเหตุ ทั้งจากปัจจัยภายในที่อยู่ในตัวของเราเอง และปัจจัยภายนอกซึ่งเป็นสิ่งต่าง ๆ ที่เราอาจจะได้พบเจอรอบตัวในชีวิตประจำวันของเรา ปัจจัยที่ทำให้เกิดผมร่วง ได้แก่

  • พันธุกรรม สาเหตุที่พบบ่อยที่สุด คือ มีประวัติครอบครัวที่มีศีรษะล้าน มีการศึกษาเชื่อว่าสาเหตุทางพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม เช่น ความเครียดและมลภาวะ สามารถเป็นปัจจัยกระตุ้นการเกิดภาวะผมบางได้ โดยมีความสัมพันธ์กับกับฮอร์โมนเพศชายที่ชื่อ แอนโดรเจน เนื่องจากฮอร์โมนนี้เป็นตัวกําหนดวงจรและควบคุมการเติบโตของเส้นผม
  • ภาวะเจ็บป่วย การผ่าตัด ความเครียด หรือเหตุการณ์ที่กระทบกระเทือนจิตใจ อาจส่งผลกระทบให้เกิดภาวะเส้นผมขาดหลุดร่วงชั่วคราว ซึ่งผมจะเริ่มงอกใหม่โดยไม่ต้องรักษา
  • ฮอร์โมนอาจทำให้ผมเกิดการร่วงได้ชั่วคราว ได้แก่ การตั้งครรภ์ การคลอดบุตร (ผมหลุดร่วงหลังคลอด) การเลิกใช้ยาคุมกำเนิด วัยหมดประจำเดือน
  • โรคบางชนิดที่อาจทำให้ผมเกิดการร่วงได้ เช่น โรคต่อมไทรอยด์ การติดเชื้อที่หนังศีรษะ และโรคที่ทำให้เกิดแผลเป็น เช่น ไลเคนพลานัสและโรคลูปัสบางชนิด อาจทำให้ผมเกิดการร่วงถาวรได้ เนื่องจากแผลเป็น
  • ผลกระทบจากยาที่ใช้รักษา เช่น โรคมะเร็ง ความดันโลหิตสูง โรคข้ออักเสบ ภาวะซึมเศร้า
  • ผมหลุดร่วงจากน้ำหนักลดอย่างมากในระยะเวลาอันสั้น
  • มีไข้สูง
  • ขาดสารอาหาร เช่น โปรตีน ธาตุเหล็ก และสารอาหารอื่น ๆ อาจทำให้ผมเกิดการบางได้

อาการที่อาจเป็นร่วมกับผมร่วง

อาการที่อาจเป็นร่วมกับผมร่วง
  1. ความเจ็บป่วยทางกาย
    • ส่วนมากมีสาเหตุมาจากโรคต่อมไทรอยด์ (Thyroid Problems) รวมทั้งการเสียสมดุลการทำงานของต่อมไทรอยด์ที่ทำงานเพิ่มมากขึ้นหรือน้อยผิดปกติ
    • ภาวะภูมิแพ้อวัยวะภายใน และต่อมามีการสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกายต่อต้านต่อรากผมเฉพาะที่หรือทั่วร่างกาย
    • โรคผิวหนังเดิมของผู้ป่วยสามารถทำให้มีรอยโรค มีการอักเสบที่รบกวนการเติบโตของเส้นผม รวมถึงการติดเชื้อ เช่น เชื้อรา แบคทีเรีย และเชื้อไวรัสของหนังศีรษะ
    • การเจ็บป่วยทางกายอื่น ๆ ทั้งที่เรื้อรังและเฉียบพลัน สามารถส่งผลรบกวนวงจรการเติบโตของเส้นผม มีผลให้การเติบโตหยุดชะงักและหลุดร่วงในปริมาณมากได้ แต่เมื่อได้รับการรักษาแล้ว เส้นผมจะค่อย ๆ ทยอยกลับมาเป็นปกติอีกครั้ง
  2. ยา อาหารเสริม หรือวิตามินบางชนิด
    การบริโภคยาบางชนิด เช่น ยาลดไขมันในเส้นเลือด ยารักษาสิวที่มีส่วนผสมของวิตามินสังเคราะห์ ยารักษาโรคมะเร็ง ยากดภูมิคุ้มกัน ยารักษาโรคไขข้อเสื่อม ไขข้ออักเสบ ยาลดความเครียด ยาลดความดันบางชนิด รวมถึงวิตามินเสริมบางชนิดที่บริโภคมากเกินกว่าความต้องการของร่างกาย โดยที่ร่างกายไม่จำเป็นต้องได้รับในปริมาณที่เกินกำหนด จะมีผลไประงับการเจริญเติบโตของรากผม ทำให้ผมเกิดการหลุดร่วงและจะกลับมาเป็นปกติเมื่อหยุดยาและวิตามินเสริมนั้น ๆ
  3. ความเครียดสะสม
    การงอกของเส้นผมคนเราอ่อนไหว ไวต่อการเปลี่ยนแปลงของอารมณ์และสภาวะกายใจ
    ความเครียด หมายรวมถึง ความเครียดทางกาย คือ การบาดเจ็บ อาการเจ็บป่วยรุนแรงหรือเรื้อรัง การออกกำลังกายที่หักโหม การให้ผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผม การย้อม ดัด ยืดด้วยสารเคมี และการจัดแต่งทรงผมที่ดึงรั้ง ได้แก่ การมัดผมรวบตึง การถักผมเปียถาวร รวมถึงการเดินทางไกล ย้ายถิ่นฐาน เหล่านี้ถือเป็นปัจจัยทางกายทั้งสิ้น ความเครียดทางใจ ความวิตกกังวล นับเป็นเหตุสำคัญที่มักทำให้เกิดอาการหลุดร่วงเรื้อรังตามมา ยากแก่การแก้ไข บางรายดึงถอนผมบนศีรษะโดยไม่รู้ตัว มักพบในเด็กและวัยรุ่นที่มีภาวะเครียด จนทำให้เป็นแผลติดเชื้อ หนังศีรษะถูกทำลาย และถูกแทนที่ด้วยพังผืด แผลเป็น นำไปสู่การสูญเสียรากผมแบบถาวรได้ ผู้ป่วยบางรายมีความเครียดสะสมต่อเนื่อง ทำให้มีอาการผมหลุดร่วงติดต่อกันเป็นเวลานาน ยากแก่การแก้ไข จำเป็นต้องรับการปรึกษาทั้งจากแพทย์เฉพาะทางด้านเส้นผมและหนังศีรษะ และจากจิตแพทย์ร่วมด้วย
  4. ภาวะโภชนาการบกพร่อง
    คนที่มีความกังวลเกี่ยวกับรูปร่าง ลดน้ำหนักตัวผิดวิธี น้ำหนักตัวลดลงมากในช่วงเวลาสั้น ๆ บางคนมากจนมีภาวะขาดสารอาหาร ยิ่งเสริมให้เส้นผมเปราะหักง่ายและดูบางลงเช่นกัน ซึ่งธาตุเหล็กนั้น มีความจำเป็นต่อการเจริญของเส้นผม ธาตุเหล็กพบได้ในอาหารจำพวกเนื้อสัตว์ ไข่ นม ผักใบเขียว เมล็ดพันธ์ุพืชบางชนิด ผู้ป่วยที่ขาดธาตุเหล็กนอกจากผมจะเกิดการหลุดร่วงแล้ว อาจมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น อ่อนเพลีย เล็บเปราะบาง ลิ้นแดงเลี่ยนแสบ เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีแร่ธาตุสำคัญอื่น ๆ ที่ส่งเสริมให้เกิดภาวะผมหลุดร่วง จึงควรปรึกษาแพทย์เพื่อรักษาได้ทันท่วงทีต่อไป
  5. พันธุกรรม
    นับเป็นปัญหาสำคัญ ปัจจุบันพบว่ามีการถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ ทำให้เส้นผมเล็ก บางลง เมื่อเจริญวัยขึ้น การถ่ายทอดนี้เป็นพันธุกรรมเด่น มักพบมีประวัติญาติสายตรง บิดา มารดา พี่น้อง มีภาวะผมบาง ศีรษะล้าน โดยในเพศชายพบอุบัติการณ์ 50% และเพศหญิงพบได้ถึง 70% เมื่อย่างเข้าอายุปีที่ 50

ผมร่วงรักษาได้ไหม

วิธีรักษาผมร่วง และแก้ปัญหาผมที่เกิดการบาง ผมลีบแบน มีหลากหลายวิธี ทั้งการดูแลเส้นผมในชีวิตประจำวัน ตลอดจนต้องเข้ารับการรักษาแบบจริงจังอย่างต่อเนื่อง เพื่อหยุดอาการและปัญหาผมดังกล่าวให้หายขาดอย่างถาวร

การรักษาอาการเส้นผมหลุดร่วง จึงแบ่งออกเป็น ดังนี้

  1. ใช้ยา ส่วนใหญ่การใช้ยาเป็นวิธีการรักษาผมหลุดร่วงเริ่มแรก ทั้งยาทาและยาสำหรับรับประทาน ควรมาจากการแนะนำของแพทย์เฉพาะทาง เพราะมีผลข้างเคียงจากยาที่ต้องระวัง
  2. ทำทรีตเมนต์ เพื่อกระตุ้นให้เกิดรากผมใหม่ รวมถึงบำรุงรักษาเส้นผมที่มีให้คงอยู่
  3. ปรับฮอร์โมน ในกรณีผมที่เกิดการหลุดร่วงจากภาวะฮอร์โมนบกพร่อง
  4. การฉายแสงกระตุ้นรากผม เพื่อแก้ปัญหาการเสื่อมสภาพของเส้นผม และช่วยกระตุ้นเส้นผมให้เกิดใหม่
  5. ฉีดเกล็ดเลือดเข้มข้น PRP (Platelet-rich Plasma) เพื่อกระตุ้นการทำงานของสเต็มเซลล์บริเวณรากผม
  6. การปลูกเส้นผมโดยวิธีผ่าตัดเจาะรากผมบริเวณท้ายทอย ซึ่งเป็นบริเวณที่ไม่ค่อยโดนผลกระทบจากฮอร์โมน แล้วย้ายรากผมมาปลูกลงในบริเวณที่ต้องการ

การเตรียมตัวก่อนเข้ารับบริการ

การดูแลหลังเข้ารับบริการ

การปฏิบัติตัวหลังทำทรีทเม้น

ผมร่วงเยอะมาก ต้องกินอะไร

ผมร่วงเยอะมาก ต้องกินอะไร

ปัญหาเส้นผมที่เกิดการหลุดร่วง สามารถเริ่มดูแลตนเองได้จากการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ซึ่งถ้าถามว่าผมร่วงเยอะมาก ต้องกินอะไรนั้น สามารถสรุปได้ง่าย ๆ ว่าควรเลือกทานอาหารที่อุดมไปด้วยสารอาหารที่สำคัญ ๆ ต่อสุขภาพเส้นผมและหนังศีรษะ โดยเน้นที่กลุ่มโปรตีน เช่น เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ไข่ ถั่ว และนม ส่วนไบโอติน เช่น ถั่ว แครอท วอลนัท และดอกกะหล่ำ

นอกจากอาหารที่แนะนำไปข้างต้นแล้ว ก็ยังมีกลุ่มวิตามินบางชนิดที่มีคุณสมบัติรักษาปัญหาผมขาดหลุดร่วงได้เช่นกันนะคะ ไม่ว่าจะเป็น

1. โปรตีน (Protein)

โครงสร้างเส้นผมประกอบไปด้วยโปรตีนเป็นหลัก เมื่อไหร่ที่โปรตีนมีจำนวนลดลง ก็จะส่งผลให้สุขภาพเส้นผมอ่อนแอลงในที่สุด ฉะนั้นถ้าเกิดผมหลุดร่วงเยอะมาก ๆ ควรมองหาอาหารบำรุงเส้นผมประเภทโปรตีน เพื่อเป็นการเพิ่มปริมาณโปรตีนในเส้นผมให้มากขึ้น

2. ไบโอติน (Biotin)

ไบโอติน วิตามินตัวสำคัญในการดูแลบำรุงสุขภาพเส้นผมให้แข็งแรง พบได้ในเครื่องในสัตว์ เนื้อสัตว์ ถั่วเหลือง ถั่วเลนทิล หรือแม้แต่วิตามินอาหารเสริมไบโอติน

3. วิตามิน C

เมื่อทานธาตุเหล็กเป็นอาหารบำรุงเส้นผมแล้ว ก็ควรทานอาหารที่มีวิตามิน C ร่วมด้วย เพราะวิตามิน C จะทำหน้าที่ช่วยให้ร่างกายดูดซึมธาตุเหล็กได้ดีขึ้น และยังมีส่วนช่วยผลิตคอลลาเจน ทำให้โครงสร้างเส้นผมแข็งแรงอีกด้วย

4. กลุ่มวิตามิน B รวม

ผมร่วงเยอะมาก กินวิตามินอะไรดี? แนะนำกลุ่มวิตามิน B รวม ที่ครอบคลุมการทำงานทุกเซลล์ของร่างกาย รวมถึงเซลล์ในเส้นผมและหนังศีรษะ ซึ่งถ้าหากต้องการวิตามิน B ให้เพียงพอต่อร่างกาย ก็สามารถทานเป็นอาหารเสริมกลุ่มวิตามิน B รวมได้

5. วิตามิน A

อีกหนึ่งตัวช่วยผมร่วงกินอะไรดีก็คือ วิตามิน A พบได้บ่อยในแคร์รอต ฟักทอง ทูน่า ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการดูแลกระบวนการสร้างน้ำมันหล่อเลี้ยงหนังศีรษะ ทำให้หนังศีรษะชุ่มชื้น ลดผมหลุดร่วง

6. สังกะสี (Zinc)

ผมร่วงเยอะมาก ต้องกินอะไร? ขาดไม่ได้เลยก็คือ สังกะสี หรือ Zinc ที่ช่วยกระตุ้นการทำงานของต่อมน้ำมันรอบรูขุมขนบนหนังศีรษะ ลดอาการหลุดร่วงของเส้นผม ซึ่งอาหารที่มีส่วนผสมของสังกะสีสูง ได้แก่ อาหารทะเล เนื้อแดง ธัญพืชไม่ขัดสี หรืออาหารเสริมสังกะสี

7. โอเมก้า 3 (Omega-3 Fatty Acid)

โอเมก้า 3 คอยสร้างน้ำมันหล่อเลี้ยง เพิ่มความชุ่มชื้นแก่หนังศีรษะและเส้นผม ถ้าผมร่วงเยอะมาก ๆ ควรทานโอเมก้า 3 ที่ส่วนใหญ่ได้จากปลาทะเล เช่น แซลมอน แฮร์ริ่ง ซาร์ดีน แมกเคอเรล หรือพืชจำพวกอาโวคาโด วอลนัท

8. ธาตุเหล็ก (Iron)

ธาตุเหล็กมีส่วนสำคัญในการกระตุ้นระบบไหลเวียนเลือดบนหนังศีรษะ ทำให้หนังศีรษะแข็งแรงและช่วยป้องกันปัญหาเส้นผมขาดหลุดร่วงได้ดีเยี่ยม แนะนำทานอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง อาจทานในรูปแบบอาหารเสริม หรือทานอาหารที่มีธาตุเหล็กสูงอย่างพวกเนื้อแดง หรือผักใบเขียวก็ได้เช่นกัน

หากคุณเป็นหนึ่งในผู้ที่มีปัญหาเส้นผมหลุดร่วง ต้องการปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ สามารถติดต่อได้ตามช่องทางด้านล่างนี้ คุณหมอยินดีให้คำปรึกษาค่ะ

ผมร่วงขาดวิตามินอะไร

ความจริงแล้ว เราควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่เพียงพอในแต่ละวัน และทำให้อวัยวะภายในร่างกายสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งหากได้รับโภชนาการหรือได้รับสารอาหารที่ไม่เพียงพอ ก็จะส่งผลให้ระบบต่าง ๆ ในร่างกายทำงานผิดปกติ รวมถึงการเจริญเติบโตของเส้นผมก็จะเกิดปัญหาขึ้นได้

ผมร่วงขาดวิตามินอะไร

ผมร่วง กินวิตามินอะไรดี โดยอาการหลุดร่วงของเส้นผมที่เกิดขึ้น ก็มาจากการที่ร่างกายขาดวิตามิน โดยเฉพาะกลุ่มวิตามินที่ส่งผลต่อการทำให้ผมขาดหลุดร่วง คือ ธาตุเหล็ก สังกะสี และกลุ่มวิตามินบี ได้แก่ วิตามิน B3 วิตามิน B5 วิตามิน B6 และวิตามิน B7 หรือเรียกว่าไบโอติน (Biotin) ที่เป็นส่วนสำคัญต่อกระบวนการสร้างเซลล์ใหม่ของร่างกาย

อย่างไรก็ตาม สำหรับคำถามที่ว่าผมร่วง ขาดวิตามินอะไร เพื่อความปลอดภัยและประโยชน์สูงสุด ป้องกันการได้รับวิตามินและแร่ธาตุที่มากเกินไป คุณจำเป็นต้องปรึกษาแพทย์เฉพาะทางก่อนรับประทานวิตามินและแร่ธาตุที่กล่าวไปข้างต้น เนื่องจาก สภาวะร่างกายของแต่ละบุคคลมีความแตกต่างกัน มีความต้องการวิตามินและแร่ธาตุต่าง ๆ ในปริมาณที่ต่างกัน วิตามินและแร่ธาตุบางชนิด หากรับประทานมากไป ก็จะมีผลข้างเคียง และอาจเป็นอันตรายต่อร่างกายได้​ค่ะ

ผมร่วงวันละกี่เส้น

โดยปกติผมร่วงวันละกี่เส้น ซึ่งในหนึ่งวันนั้น เส้นผมของคนเราจะร่วงประมาณ 100-150 เส้นต่อวัน และในวันที่มีการสระผมอาจร่วงได้มากถึง 200 เส้นต่อวัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล เช่น ถ้าเพศชายส่วนใหญ่จะร่วงน้อยกว่าเพศหญิง คือ 50-60 เส้นต่อวัน แต่ถ้าหากนับแล้วมีปริมาณเส้นผมที่ร่วงมามากกว่านั้น หรือผมเกิดการหลุดร่วงเยอะมาก ๆ ควรใช้อะไรดี แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ หรือมองหาวิตามิน อาหารบำรุงเส้นผมลดการหลุดร่วงมารับประทาน เพื่อบำรุงสุขภาพเส้นผมและหนังศีรษะ

ปกติผมร่วงวันละกี่เส้น

ผมร่วงแก้ด้วยตัวเองได้ยังไง ใช้อะไรดี

ผมร่วงแก้ด้วยตัวเองได้ยังไง

ใครที่มีปัญหาผมขาดหลุดร่วง หรือผมร่วง แก้ยังไงดี ขอแนะนำวิธีแก้ผมมัน ผมหลุดร่วง ผลลัพธ์ที่ได้นั้นค่อนข้างที่จะมีประสิทธิภาพ เห็นผมขาดหลุดร่วงน้อยลงเมื่อรักษาอย่างต่อเนื่อง ผมก็จะกลับมาหนาและแข็งแรงอีกครั้ง เรามาดูกันว่ามีวิธีไหนที่น่าสนใจบ้าง

Biotin C

Biotin C วิตามินเร่งการผลิตอาหารผมชั้นดี เพิ่มสารอาหารที่ดีเพื่อไปหล่อเลี้ยงเซลล์รากผมให้แข็งแรง เมื่อเส้นผมแข็งแรงก็จะทำให้ผมหลุดร่วงได้ยาก รวมสารอาหารและวิตามินบำรุงถึงเซลล์รากผมภายใน ลดการหลุดร่วง เพิ่มการงอกของเส้นผม เห็นผลดีแกนผมแข็งแรงมากยิ่งขึ้น เมื่อทานคู่กับคอลลาเจน

วิธีรับประทาน : แนะนำหลังอาหารหรือพร้อมมื้ออาหาร 1 กล่องมี 60 เม็ดฟู่ / ทานวันละ 2 เม็ดฟู่ + คอลลาเจน 1 ซอง

ผลิตภัณฑ์คอลลาเจนไตรเปปไทด์

คอลลาเจนไตรเปปไทด์ของ Vdesign

บำรุงผม, ผิว, เล็บได้ในซองเดียวด้วย Vdesign Collagen Tripeptide ซึ่งเป็นคอลลาเจนบริสุทธิ์เพียว 100% เห็นผลไวกว่าคอลลาเจนอื่น ๆ ด้วยโมเลกุลเล็กที่สุด ดูดซึมได้ทันทีโดยไม่ต้องผ่านการย่อย

วิธีรับประทาน : แนะนำหลังอาหารหรือพร้อมมื้ออาหาร คอลลาเจน 1 ซอง/ ควรทานคู่กับ Biotin C

ผลิตภัณฑ์แชมพูและครีมนวดผม สูตรอ่อนโยน

กลุ่มผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดหนังศีรษะ แชมพู และครีมนวดผมสูตรอ่อนโยน

Advanced Hair Fall Control Shampoo & Conditioner เป็นผลิตภัณฑ์ยาสระผมและครีมนวม ด้วยสารสกัดจากสมุนไพรและพืช ช่วยลดการหลุดร่วงของเส้นผม และช่วยกระตุ้นการงอกของเส้นผม และนอกจากนี้ ยังมีสารสกัดจากหญ้างหางม้า เป็นสารสกัดที่มีฤทธิ์บำรุงถึงรากผมโดยตรง ผมจึงหลุดร่วงน้อยลง ฆ่าเชื้อสิว ลดอาการอักเสบของหนังศีรษะ ปรับสภาพสมดุลของหนังศีรษะ ช่วยลดอาการคันศีรษะ ลดการเกิดรังแค และลดความมัน

วิธีใช้ : สามารถใช้แชมพูและครีมนวดปรับสภาพเส้นผม เพื่อทำความสะอาดเส้นผมได้ทุกวัน

Hair max

Hair Max LaserBand 82

นวัตกรรมรักษาผมหลุดร่วงได้เร็วสุดในโลก ที่คาดผมเลเซอร์พลังงานต่ำระดับเกรดการแพทย์มากถึง 82 หลอด ไม่ผสมหลอด LEDs รักษาได้ครอบคลุมทั่วทั้งหนังศีรษะ ช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตของเส้นผมจึงช่วยเพิ่มความหนาให้แก่เส้นผมและยังช่วยฟื้นฟูผมเสีย หยุดยั้งกระบวนการทำงานที่ทำให้เกิดการบางของเส้นผม เป็นการรักษาโดยไม่ต้องใช้ยาหรือสารเคมีผ่านการรับรองจาก FDA เหมาะสำหรับทั้งผู้ชายและผู้หญิง โดยหมวกเลเซอร์ผ่านการทดสอบแล้วพบว่า มีการงอกใหม่ของเส้นผมอย่างชัดเจน

วิธีใช้ : เพียงใช้งาน 90 วินาทีต่อครั้ง 3 ครั้งต่อสัปดาห์ ในระยะเวลา 16-26 สัปดาห์ ช่วยให้ผมสุขภาพดีขึ้น ผมหนาเพิ่มมากขึ้นสูงสุด 139 เส้น/ตร.นิ้ว

ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

วิธีที่ดีที่สุดก่อนทำการรักษาผมร่วงและแก้ปัญหาผมที่เกิดการบาง ไม่ว่าจะด้วยวิธีใดก็ตาม คือ การปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านเส้นผม เพื่อที่จะได้รู้ว่าอาการผมหลุดร่วงของเราอยู่ในความรุนแรงระดับไหน เพื่อให้แพทย์ได้แนะนำการรักษาที่ถูกวิธี เหมาะสม และปลอดภัยมากที่สุด

รักษาผมร่วงราคาเท่าไหร่

ที่คลินิก Vdesign Hair ของเรามีโปรแกรมบริการรักษาผมร่วง เริ่มต้นที่ 5,600 บาท โดยที่ราคาจะแตกต่างกันไปในแต่ละระดับปัญหา และความรุนแรงของเส้นผมของแต่ละบุคคล

คำถามที่พบบ่อย

คำถามที่พบบ่อย

ในปัจจุบัน มียาที่ใช้ในการกระตุ้นรากผม 2 ประเภท คือ ยารับประทานและยาทาเฉพาะที่ ซึ่งยาที่ใช้รับประทานนั้น มีใช้ทั้งในผู้ชายและผู้หญิง โดยยาที่ใช้จะช่วยลดฮอร์โมนที่ส่งผลต่อการหลุดร่วงของผมโดยตรง ขณะที่ยาทาเฉพาะที่จะใช้เพื่อช่วยป้องกันการหลุดร่วงของเส้นผม ทว่าในการใช้ยาจะต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ โดยหากเริ่มมีอาการผมหลุดร่วง ควรรีบพบแพทย์ทันที เพื่อทำการวินิจฉัยอย่างละเอียด ซึ่งจะส่งผลให้การรักษามีประสิทธิภาพมากขึ้น

กินผงชูรสเยอะ ผมร่วงจริงไหม ก่อนอื่นเราต้องทำความเข้าใจก่อนว่า ในตอนนี้ยังไม่มีรายงานวิจัยทางการแพทย์ใด ๆ มารองรับความเชื่อที่ว่า ผงชูรสทำให้ผมเกิดการหลุดร่วง นอกจากคำบอกเล่าจากผู้ใหญ่ที่ส่งต่อกันมา ที่สำคัญทางองค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา ก็ยังจัดให้ผงชูรสเป็นสารที่ปลอดภัยอีกด้วยนอกจากนี้ อาการผมหลุดร่วงสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ไม่ใช่เพราะเกิดจากการกินผงชูรสเยอะแล้วจะทำให้เกิดผมหลุดร่วงเสมอไป หลายคนที่ลองหันมาปรุงอาหารทานเองตามเทรนด์สุขภาพ เพื่อหลีกเลี่ยงอาหารใส่ผงชูรสแล้ว ก็ยังมีอาการผมหลุดร่วงได้อยู่ ดังนั้น การกินผงชูรสเยอะไม่ได้ทำให้ผมเกิดการร่วงแต่อย่างใด

อาหารไทยส่วนมากมีรสชาติค่อนข้างจัดจ้าน โดยเฉพาะรสเค็มที่ส่งผลให้มีความอยากอาหารมากขึ้น ทั้งยังส่งผลต่อความเชื่อที่ว่า กินผงชูรสทำให้ผมเกิดการร่วงได้ เนื่องจากในผงชูรสนั้น มีส่วนประกอบของโซเดียม แต่ความเค็มเพียงเล็กน้อยจากผงชูรสอาจจะเป็นปัญหาที่ปลายเหตุ การทานเค็มไม่ได้ส่งผลทำให้ผมเกิดการร่วงได้โดยตรง แต่ควรลดปริมาณการทานเค็มลงเพราะยังส่งผลกระทบต่อสุขภาพ การบริโภคอาหารรสเค็มมาก ๆ จะทำให้ร่างกายบวมน้ำ มีสุขภาพแย่ลง อาการที่เห็นได้อย่างชัดเจนที่สุดคือ ผมเกิดการหลุดร่วง นอกจากนี้ การทานอาหารรสเค็มที่มากเกินไป อาจกลายเป็นปัญหาร้ายแรงต่อสุขภาพได้

การรับประทานยาคุมไม่ใช่สาเหตุหลักที่ทำให้ผมเกิดการบาง การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสตินต่างหาก ที่เป็นตัวกระตุ้นให้ผมเกิดการหลุดร่วง จนบางในที่สุด หากมีอาการผมหลุดร่วงผิดปกติ แนะนำให้หยุดรับประทานยาคุม 2-3 เดือน อาการอาจจะดีขึ้น

รังแคไม่ได้ทำให้เกิดการหลุดร่วงของเส้นผมโดยตรง แต่มีส่วนที่ทำให้เกิดผมหลุดร่วงจนเกิดการบางได้ เนื่องจากเป็นผลกระทบจากการมีปัญหาหนังศีรษะ เช่น อาการคัน ความเครียด หรือหนังศีรษะแห้ง ก็อาจทำให้เกิดปัญหาดังกล่าวได้

สนใจปรึกษาแพทย์ทำอย่างไร

สำหรับผู้ที่สนใจอยากลองปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับอาการ ผมร่วง สามารถขอนัดคิวเข้ามาเพื่อตรวจสภาพของหนังศีรษะ และส่องกล้องดูความแข็งแรงของเซลล์รากผมและศีรษะล้าน สามารถปรึกษาผ่านทางออนไลน์กับทีมแพทย์หรือนัดคิวเข้ามาพบกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านเส้นผมและหนังศีรษะที่คลินิกได้เลยค่ะ

    ไม่ระบุ5,000-10,000 บาท10,001-50,000 บาท50,001 บาทขึ้นไป

    ศรีษะล้านหน้าผากเถิกผมบางผมร่วงกระหม่อมบางคิ้วบางอยากมีหนวดเคราอื่น ๆ

      ไม่ระบุ5,000-10,000 บาท10,001-50,000 บาท50,001 บาทขึ้นไป

      ศรีษะล้านหน้าผากเถิกผมบางผมร่วงกระหม่อมบางคิ้วบางอยากมีหนวดเคราอื่น ๆ